หมอ ‘สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ’ เปิดใจหลังโดนย้าย ปมวิจารณ์นโยบายกัญชาเสรี

หมอ ‘สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ’ เปิดใจหลังโดนย้าย ปมวิจารณ์นโยบายกัญชาเสรี

หมอสุภัทร หรือ สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ออกมาเปิดใจหลังโดนย้าย ท่ามกลางข้อสังเกตว่าถูกย้ายเพราะวิจารณ์นโยบายกัญชาเสรี เจ้าตัวเผยเห็นคำสั่งหลังสื่อ จากกรณีที่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) จะนะ ถูกสั่งย้ายไป ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ รพ.สะบ้าย้อย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สงขลา มีผลตั้งแต่วันที่ลงนาม คือ วันที่ 25 มกราคม 2566 เป็นต้นไป จากการย้าย หมอสุภัทรนั้น ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเกี่ยวกับที่เขาเคยออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายกัญชาหรือไม่นั้น

ล่าสุด นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กเปิดเผยควาในใจว่า 

“ความในใจเมื่อผมโดนย้าย ผมรับราชการมาตั้งแต่ปี 2538 มาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะตั้งแต่ปี 2542 มีแพทย์เพียง 3 คนอยู่หลายปี ผมสนุกกับงาน เป็นทั้งผอ.และหมอ ตรวจคนไข้ อยู่เวร ออกชุมชน สอนนักศึกษา บริหารโรงพยาบาล ร่วมกิจกรรมชุมชนทั้งการคัดค้านโครงการนิคมอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย ผมผูกพันกลายเป็นส่วนหนึ่งของจะนะ อายุราชการที่เหลืออีก 7 ปีก็คิดจะเกษียณที่จะนะ

สธ.ได้วางระบบไว้ว่า ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และแพทย์สามารถขึ้นได้ถึงระดับวิชาการเชี่ยวชาญ ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งบริหารจึงไม่มีวาระที่ต้องย้าย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนจำนวนมากรวมทั้งผมจึงเลือกทำงานจนเกษียณโดยไม่ขอย้าย ทำให้งานสาธารณสุขในชนบทเกาะติดพื้นที่พัฒนาได้ต่อเนื่อง ปี 2563 ผมรับภารกิจเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบทอีกตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าที่ทักท้วงเสนอแนะเรื่องราวใน สธ. อาทิ การไม่เห็นด้วยต่อนโยบายกัญชาเสรี การโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม การบริหารจัดการโควิดและวัคซีน การไม่ลงนามงบส่งเสริมป้องกันปี 2566 หรือ การซื้อ ATK ที่มีข้อสงสัย สิ่งเหล่านี้สร้างความหงุดหงิดต่อใครบางคน จนนำมาสู่คำสั่งให้ย้ายผมให้ได้ก่อนยุบสภา

จริงๆการจะย้ายผมไม่ยากเลย เพียงแค่ปลัดกระทรวงสั่งย้ายตามอำนาจที่ท่านมี (แต่ต้องมีเหตุมีผลด้วยนะ) แต่เพราะตำแหน่งผมเป็นตำแหน่งวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ไม่มีเกณฑ์ที่ต้องถูกย้ายตามวาระ เหตุความผิดที่ต้องถูกย้ายก็ไม่มี ผมเองก็ไม่ได้สมัครใจย้าย ปลัดกระทรวงจึงไม่กล้าเซ็นเอง เพราะกลัวผิดกฎหมายอาญา ม. 157 ก็เลยต้องมีการสั่งการให้ผู้ตรวจราชการเป็นคนเซ็น ใครลงนามจะได้เลื่อนชั้นรวดเร็ว เรื่องราวจึงโกลาหล

7 ธันวาคม 2565 สธ.ลงนามคำสั่งโยกย้ายผู้ตรวจราชการทั่วประเทศ ผู้ตรวจสวัสดิ์ อภิวัจนีวงค์ ได้ขึ้นที่เขต 4 (สระบุรี) ส่วนเขต 12 ยังเป็น ผู้ตรวจสุเทพ เพชรมาก ท่านเดิม ช่วงนั้นมีข่าวผมจะถูกย้ายอีก ทราบว่าผู้ตรวจสุเทพไม่ยอมลงนาม ด้วยเห็นว่าไม่มีเหตุให้สั่งย้าย ผลก็คือ วันที่ 11 มกราคม 2566 ปลัดกระทรวงมีคำสั่งย้ายผู้ตรวจสุเทพไปอยู่เขตอื่น เอาผู้ตรวจสวัสดิ์ อภิวัจนีวงค์ จากเขต 4 มาเขต 12 ทั้งๆที่เพิ่งไปเขต 4 ได้เดือนเดียว คนพร้อมลงนามมีแล้ว

แต่ระเบียบการให้อำนาจผู้ตรวจสั่งย้ายผู้อำนวยการเชี่ยวชาญในโรงพยาบาลชุมชนยังไม่ชัดเจน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงลงนามในหนังสือหลักเกณฑ์ใหม่ลงวันที่ 23 มกราคม 2566 ให้ผู้ตรวจมีอำนาจย้ายวิชาการเชี่ยวชาญได้ หนังสือยังไม่ถึงหน่วยงานเลย วันที่ 25 มกราคมถัดไปสองวันก็มีการประชุมคณะกรรมการย่อยพิจารณาย้ายผมและลงนามในคำสั่งย้ายผมไปเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลสะบ้าย้อยทันที

ผบ.กองเรือยุทธการ ปัดปมห่วงยาง-เสื้อชูชีพบน ‘เรือหลวงสุโขทัย’ ไม่ครบ

ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ โต้ปมขาดห่วงยางและ เสื้อชูชีพ บน เรือหลวงสุโขทัย ชี้สภาพอากาศแปรปรวนเป็นปัจจัยหลัก ไม่ใช่ปริมาณคน พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ แถลงหลังจากถึงตั้งคำถามถึงประเด็นเสื้อชูชีพกับห่วงยาง หลังเหตุเรือหลวงสุโขทัยล่มว่า จำนวนกำลังพลมีมากเกินและเสื้อชูชีพที่ไม่เพียงนั้น ยืนยันว่า เรือหลวงสุโขทัย สามารถรับน้ำหนักจำนวนกำลังพลกว่า 105 นายได้แน่นอน และ ปริมาณคนไม่มีผลอะไรเลยที่จะทำให้เรือล่ม เพราะบนเรือมีปืนใหญ่หนักเป็นตันอยู่

ส่วนประเด็นเสื้อชูชีพมี 2 แบบ คือ แบบเสื้อ และ แบบห่วงยาง ซึ่งเป็นอุปกรณ์เซฟการ์ด แต่เมื่อเรือเผชิญกับคลื่นลมแรง อาจมีการกระแทกในจังหวะที่เรือหลวงสุโขทัย ดีดตัวสูงตามแรงคลื่น แล้วตกลงมากระแทกผิวน้ำอีกที อาจทำให้เสื้อชูชีพ หรือ ห่วงยาง หลุดได้ มันเป็นสถานการณ์ ที่ฉุกละหุก จากที่เคยเตรียมการกันไว้ ว่าแต่ละคนมีหน้าที่อะไร หากเกิดเหตุฉุกเฉิน ก็จะไม่เป็นไปตามแผนที่ซ้อมกันไว้

พล.ร.อ.อะดุง ย้ำว่าปัจจัยที่ทำให้เรือหลวงสุโขทัยจมนั้น มาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน เพราะอยู่มา 10 ปี ยังไม่เคยเจอทะเลคลั่งเหมือนคืนที่เกิดเหตุ

“นี่คือสิ่งที่ทหารเรือต้องเจอในห้วงออกไปลาดตระเวน ต้องต่อสู้กับสภาพอากาศ กว่าจะนำเรือกลับเข้าฝั่งได้ ถือเป็นเรื่องปกติ ที่ทหารเรือต้องพบเจอกับความแปรปรวนของอากาศ ซึ่งบางคนก็บอกว่าก็พยากรณ์อากาศได้

แล้วทำไมถึงยังออกเรือ ผมก็ต้องตอบตรงๆ ว่า เรามีเรือรบต้องออกไปช่วยชาวประมง ที่ประสบอุบัติเหตุ เรือล่ม มีคนลอยคอในทะเล ซึ่งเป็นภารกิจของกองทัพเรือที่ต้องออกไป ยิ่งสภาพแปรปวน ยิ่งต้องออกไปลาดตระเวน เป็นภารกิจ ต้องช่วยผู้ประสบภัยให้ทันท่วงที และเราก็เจอเสียเอง” ผบ.กองเรือยุทธการ กล่าว

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บสล็อตแท้ สล็อตเว็บตรง